หน้าเว็บ

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

นอนไม่พอ เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคเบาหวานนั้น เกิดจากภาวะไม่สมดุลของฮอร์โมนอินซูลิน ผลลัพธ์ คือ น้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ปัจจุบันนี้โรคเบาหวานถือเป็นอีกหนึ่งโรคฮิตที่คนส่วนใหญ่มักจะเป็นกัน และล่าสุดมีงานวิจัยชินใหม่หลายชิ้นที่เห็นพ้องต้องกันว่า การนอนหลับในช่วงกลางวัน และการนอนไม่เพียงพอ มีส่วนทำให้เกิด โรคเบาหวานประเภท 2 (ต้องพึ่งอินซูลินนอกร่างกาย) โดยจากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 16,840 คนพบว่าคนที่นอนกลางวันมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 เพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้แอบงีบ ทั้งนี้เนื่องจาก การแอบงีบหลับในตอนกลางวันนั้นจะส่งผลต่อการนอนหลับในตอนกลางคืนด้วย เพราะจะทำให้การนอนในช่วงกลางคืนน้อยลงนั่นเอง

อาการโรคเบาหวาน
นอกจากนี้การนอนหลับในช่วงกลางวันยังทำให้การทำงานของฮอร์โมนและกลไกในร่างกายที่หยุดยั้ง ส่งผลให้อินซูลินทำงานได้อย่างไม่เต็มที่มากนัก ซึ่งแนวคิดนี้มีผลงานวิจัยหลายชิ้นเลยทีเดียวที่ช่วยยืนยันว่า การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอนั้นสัมพันธ์กับการก่อให้เกิดโรคเบาหวานประเภท 2 แม้ว่าจะมีงานวิจัยหลายชิ้นที่กล่าวอ้างว่าการนอนตอนกลางวันอาจจะทำให้เกิดโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น เช่น ภาวะน้ำหนักเกิน การมีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติผู้ป่วยโรคเบาหวานในครอบครัวนั้นมีผลมากกว่า

เพราะฉะนั้นหลาย ๆ ท่านก็คงไม่ถึงกับต้องเลิกนอนกลางวันไปเสียทีเดียวหรอก เพียงแค่ใส่ใจรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ และที่สำคัญพักผ่อนให้เพียงพอเท่านี้ก็ห่างไกลโรคแล้ว

อาการของโรคเบาหวาน
1. ปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะกลางคืน

2. คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย และมาก

3. หิวบ่อย กินจุ แต่น้ำหนักลด ผอมลง อ่อนเพลีย

4. เป็นแผลหรือฝีง่ายแต่หายยาก

5. คันตามผิวหนังและบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์

6. ชาปลายมือปลายเท้าความรู้สึกทางเพศลดลง

7. ตามัว พร่า ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ๆ

น้ำตาลในกระแสเลือดสูงเมื่อเป็นโรคนี้ระยะหนึ่งจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับหลอดเลือดเล็กเรียก microvacular หากมีโรคแทรกซ้อนนี้จะทำให้เกิดโรคไต เบาหวานเข้าตา หากเกิดหลอดเลือดเลือดแดงใหญ่แข็งเรียก macrovascular โดยจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพาต หลอดเลือดแดงที่ขาตีบนอกจากนั้นยังอาจจะเกิดปลายประสาทอักเสบ neuropathic ทำให้เกิดอาการชาขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ประสาทอัตโนมัติเสื่อม

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน ยังไม่ทราบแน่นอนแต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดได้แก่
- กรรมพันธุ์
- อ้วน
- ขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใดมีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมี่โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

รู้ทันโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่มีความผิดปกติ เกี่ยวกับขบวนการเคมีของร่างกาย (Metabolism) ทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จนทำให้เกิดอาการขึ้น คือ น้ำตาลที่สูงมากกว่าปกตินั้น เมื่อกรองผ่านไปที่ไต ไตไม่สามารถดูดน้ำตาลกลับได้หมด จึงทำให้ความเข้มข้นของน้ำตาล ในท่อไตมากกว่าปกติ ทำให้น้ำ (จากเลือด) ไหลย้อน จากเนื้อไตเข้าไปยังท่อไต ซึ่งมีความเข้มข้นสูง แล้วก็ปัสสาวะออกมา ทำให้ปริมาณน้ำปัสสาวะที่ออกมา มากกว่าปกติ อาการเริ่มแรกที่เห็น คือ ปัสสาวะบ่อยและมาก โดยเฉพาะตอนกลางคืน อาจจะมากกว่า 3 – 4 ครั้ง ขึ้นกับความรุนแรงของโรค พอปัสสาวะมาก ก็ทำให้ร่างกายขาดน้ำ จึงทำให้คนที่เป็นเบาหวาน ต้องกินน้ำมากๆ เพื่อแก้กระหาย และทดแทนน้ำที่เสียไป และเนื่องจากร่างกายได้รับน้ำตาล จากการกินเข้าไปแล้ว เอาไปใช้ไม่ได้ จึงทำให้น้ำหนัก ลดค่อนข้างรวดเร็ว และหิวบ่อย เพราะกินแล้ว มันรั่วหายหมดไปทางปัสสาวะ ดังนั้น อาการเริ่มแรกทั้งหมดของเบาหวาน จึงเป็นปัสสาวะบ่อยมาก ดื่มน้ำมาก กินเก่ง หิวบ่อย น้ำหนักลด

โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานนี้เปรียบเทียบได้ง่ายๆ โดยเปรียบร่างกายเราเป็นระบบปั๊มน้ำ และน้ำในระบบก็คือเลือดของเราโดยปรกติแล้วปั๊มน้ำก็จะทำงานอย่างปรกติ แต่เมื่อมีการทำให้น้ำในระบบเกิดความข้นขึ้น(ก็คือการเติมน้ำตาลลงไปในน้ำ) น้ำในระบบก็จะมีความหนืดขึ้น ปั๊ม(หัวใจ)ก็จะต้องทำงานหนักขึ้น ท่อน้ำ(หลอดเลือด)ก็ต้องรับแรงดันที่มากขึ้น ดังนั้นคนที่เป็นโรคเบาหวานก็จะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่างๆเพิ่มขึ้นได้

สาเหตุของโรคเบาหวาน
ที่ทราบกันคือกรรมพันธุ์ และปัจจัยอื่นๆ กรรมพันธุ์หมายถึง ถ้ามีพี่น้อง พ่อแม่ (ญาติสายตรง) เป็น ก็จะมีโอกาสหรือความเสี่ยง ในการเกิดโรคเบาหวาน ได้มากกว่าคนที่ไม่มีประวัติครอบครัว แต่ไม่ใช่เป็นหมดทุกคน 100 % และในทางกลับกัน คนที่ไม่มีพ่อแม่พี่น้องเป็น ก็อาจจะเป็นคนแรกเลยก็ได้ คือ ถือเป็นต้นตระกูลเบาหวานก็ได้ ส่วนปัจจัยอื่นๆ ก็สำคัญ เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย กินอาหารแป้ง, น้ำตาลมากเกินไป ส่วนสาเหตุหนึ่งที่พบคือ เบาหวานจากการตั้งครรภ์, เบาหวานจากยา เช่น ยาสเตียรอยด์ ที่ชอบใช้แบบผิดๆ รักษา โรคปวดข้อ, ปวดกระดูก, ตับอ่อนอักเสบ โดยเฉพาะที่ชอบดื่มเหล้ามากๆ จนเป็นตับอ่อนอักเสบ สุดท้ายก็เบาหวาน จากการขาดสารอาหาร

การวินิจฉัย การดูแลรักษาด้วยยา การออกกำลังกาย และอื่นๆ ที่เป็นโรคแทรกซ้อน ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน นอกจากจะจำเป็นต่อผู้ป่วยเองแล้ว ยังจำเป็นต่อคนรอบข้าง, เช่นคนในครอบครัว คนใกล้ชิด โรงเรียน (ในกรณีที่เด็กป่วย ควรจะมีความรู้บ้าง) เพราะโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน อาจจะมีอาการเฉียบพลันซึ่งต้องการ การรักษาอย่างเร่งดวน มิฉะนั้น อาจจะมีอันตรายถึงชีวิต โรคแทรกซ้อนที่ว่า ยกตัวอย่างเช่น น้ำตาลในเลือดสูง หรือต่ำเกินไป การติดเชื้อรุนแรงเป็นต้น

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

กินอิ่มแต่ไม่อ้วน

เคล็ดลับอิ่มไม่อ้วนสวนกระแสเทศกาลงานเลี้ยงต่างๆ
1. กินโปรตีนเยอะได้ แต่ไขมันต้องน้อย เพราะโปรตีนจะทำให้รู้สึกอิ่มนาน อย่างเนื้อไก่ก็ต้องเอาหนังออก ส่วนอาหารพวกแป้งและไขมันให้กินได้แต่ต้องน้อยถึงน้อยที่สุด

2. กินผักผลไม้ให้ หลากหลาย อันนี้ไม่ได้บอกให้กินแต่ผัก แต่มีคำแนะนำว่าให้กินผักและผลไม้หลายชนิดคละกันไปพร้อมอาหาร

3. ตักอาหารทีละน้อย อย่าตักจนล้นจานแล้วเสียดายทีหลัง

เคล็ดลับการกินอาหาร
4. เริ่มต้นกินอาหารน้ำๆ ก่อน เพื่อให้กระเพาะรับอาหารหนักๆ ได้น้อยลง จะทำให้รู้สึกอิ่มและได้อรรถรสในการกินไปพร้อมกันโดยไม่ต้องกินมาก

5. ควรพักยกระหว่างรับประทาน อย่าได้ใช้เวลากินติดกันนานรวดเดียว แต่เมื่อรู้สึกอิ่มแล้วให้รีบลุกจากโต๊ะแล้วชวนกันไปคุยที่อื่น ถ้าหิวแล้วค่อยกลับมาเริ่มใหม่ได้อีก

6. ถ้าเป็นงานเลี้ยงแบบที่เอาอาหารไปด้วย ควรนำอาหารไขมันต่ำติดตัวไป

7. ให้เพลาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง แม้การเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงจะเป็นเรื่องยาก แต่ให้ท่องไว้ว่าไวน์หรือเบียร์หนึ่งแก้วใหญ่ ให้พลังงาน 200 แคลอรี ดังนั้นยิ่งดื่มมากยิ่งเพิ่มแคลอรีใส่ตัวมากขึ้น

8. กินแล้วต้องออกกำลังกาย เรื่องนี้สำคัญมากขาดไม่ได้ โดยอาจหารูปแบบการออกกำลังกายแบบง่ายๆ ในบ้าน เช่น หยอกล้อเล่นกับเด็ก หรือวิ่งไล่จับกันในบ้านก็เป็นการออกกำลังกายที่มีงานวิจัยรับรองว่าได้ผลดีเช่นกัน

ทั้งหมดนี้เป็นเคล็ดลับที่นำมาจากจดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ ฉบับสร้างสุข เดือนมกราคม 2552 ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยหวังว่าจะทำให้อิ่มและไม่อ้วนสวนกระแสเทศกาลกันได้อย่างสบายใจ

ที่มา ไทยรัฐออนไลน์ [24 ม.ค. 52 - 00:52]

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

การกินไข่เพื่อสุขภาพ

อาหารที่ทำจากไข่ ไม่ว่าจะเป็น ไข่ต้ม ไข่เจียว ไข่ดาว ไข่ลวก ไข่ตุ๋น ไข่พะโล้ ไข่ยัดไส้ และอีกสารพัดเมนูไข่ คงจะคุ้นปากคนไทยเป็นอย่างดี แต่รู้หรือไม่ว่า หากเราปรุงไข่แบบ สุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะ ไข่ดาว ไข่ลวก แทนที่จะได้ประโยชน์อาจเป็นโทษต่อร่างกาย

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ อธิบายว่าใน ไข่ 1ฟอง ไข่แดงจะเป็นก้อนไขมัน ไม่มีโปรตีน แต่กลับกัน ไข่ขาวจะไม่มีไขมัน มีแต่โปรตีนอย่างเดียว ไข่ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ไม่ว่าเบอร์เล็กหรือเบอร์ใหญ่ สิ่งที่เหมือนกัน ไข่แดง ขนาดเดียวกันหมด แต่ที่ต่างกัน คือไข่ขาว ตรงนี้คนมักจะไม่ค่อยรู้

ประโยชน์จากการกินไข่
โทษของไข่ดิบ
มีคนเข้าใจว่าการกินไข่ดินวันละฟองในตอนเช้าจะรักษาเสียงได้ดี ความจริงแล้วการกินไข่ดิบทำให้ร่างกายได้รับธาตุบำรุงจากไข่เพียงครึ่งเดียวในไข่ดิบมีโปรตีนที่เป็นปฏิชีวนะอยู่ ถ้าเรากินไข่ดิบบ่อยๆ โปรตีนชนิดปฏิชีวนะที่สะสมอยู่ในร่างกายจะขัดขวางไม่ให้ร่างกายได้รับ วิตามินB1 นอกจากนั้นถ้าไก่เป็นโรคไข่จะติดตามมาด้วย จึงอาจทำให้ผู้กินไข่ดิบติดโรคได้ จึงควรกินไข่ที่สุกเพื่อร่างกายจะได้รับสารอาหารทั้งหมดได้ ดังนั้น ไม่ควรกินไข่ดิบหรือไข่ครึ่งสุกครึ่งดิบเพื่อความปลอดภัยของร่างกาย ส่วนในการทอดไข่ดาวนั้น ไม่ควรทอดเพียงด้านเดียว ควรพลิกทอดทั้ง 2 ด้าน เพื่อประกันว่าได้ฆ่าเชื้อโรคหมดแล้ว

การกินไข่ดิบ หรือไข่ที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ เช่น ไข่ดาว ไข่ลวก ถ้าไข่แดงเป็นยางมะตูมอาจจะไม่ค่อยมีปัญหาเท่ากับกินไข่ขาวที่เป็นยางใส ๆ เพราะไข่ขาวจะย่อยยาก เนื่องจากไข่ขาวดิบทั้งหมดเป็น "อัลบูลมิน" ถ้าไม่สุกจะทำให้มีปัญหาเรื่องลำไส้ ไม่ค่อยย่อย ยิ่งถ้าเป็นคนแก่จะไม่มีน้ำย่อยมาย่อย "อัลบูลมิน"

นอกจากนี้การกินแต่ไข่ขาวเพียงอย่างเดียว เพราะกลัวไข่แดงมีคอเลสเตอรอลสูง จะทำให้โปรตีนในไข่ขาวตัวหนึ่ง ชื่อ "อะวิดิน" ไปจับกับ "ไบโอติน" ในร่างกาย ซึ่ง "ไบโอ ติน" เป็นวิตามินที่มีความจำเป็นต่อเส้นผม และสุขภาพผิว อีกทั้งการกินแต่ไข่ขาวอย่างเดียวร่างกายจะไม่ได้ "ไบโอติน" ที่อยู่ในไข่แดง แถม "อะวิดิน" ก็ไปจับกับไบโอตินอีก สรุปว่าต้องกินทั้งไข่ขาวและไข่แดง ด้วยการปรุงสุกเท่านั้น จะเป็นไข่ไก่ หรือไข่เป็ดก็ได้ ถ้าจะให้ดีควรต้มดีที่สุด เพราะถ้าทอดหรือเจียว เรามักจะทอดกับน้ำมันพืช ซึ่งมีโอเมก้า 6 จะยิ่งไปต้านโอเมก้า 3 ในไข่

ก่อนที่จะกินไข่ ต้องดูก่อนว่า สุขภาพร่างกายของตัวเองเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ ไขมันในร่างกายไม่สูง ไม่เป็นเบาหวาน ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่เป็นโรคเรื้อรังอะไร ผู้ใหญ่สามารถกินไข่ได้สัปดาห์ละ 3-4 ฟอง แต่ถ้าไขมันในเลือดสูง มีภาวะโรคอ้วน ต้องให้แพทย์แนะนำ โดยสามารถกินได้สัปดาห์ละ 1 ฟอง หรือกินเฉพาะไข่ขาว ซึ่งไม่มีคอเลส เตอรอล แต่มีโปรตีน ส่วนเด็กอายุตั้งแต่ 1 ขวบ วัยเรียน ไปจนถึงวัยอุดมศึกษา สามารถ รับประทานไข่ ได้วันละ 1 ฟอง สัปดาห์ละ 7 ฟอง เพราะต้องใช้พลัง งานสูง โดยไข่จะมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตทั้ง ด้านร่างกายและ สติปัญญา

กินไข่อย่างไรเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
1. กินไข่ที่ปรุงสุกเท่านั้น

2.ควรกินไข่ไปพร้อม ๆ กับอาหารหลัก 5 หมู่ ไม่ควรกินไข่อย่างเดียว โดยเฉพาะการกินไข่ร่วมกับผักจะมีไฟเบอร์ช่วยดูดซับคอเลสเตอรอลในไข่ได้ส่วน หนึ่ง

3.ควรกินไข่ในหลากหลายรูปแบบ และหลากหลายเมนู คนที่มีภาวะไขมันในร่างกายสูง ควรหันมากินไข่ต้ม ไข่ตุ๋น แทนไข่เจียวหรือไข่ดาว

4.เมื่อกินไข่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้ไขมันสูงในวันเดียวกัน เช่น กินไข่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงกินข้าวขาหมู ปลาหมึก กุ้ง

5.กินไข่แล้วออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะลดภาวะ เสี่ยงต่อคอเลสเตอรอลสูงได้.

การตรวจสุขภาพ

คนไทยทุกวันนี้รักสุขภาพมากขึ้นจะเห็นได้จากกระแสการใช้สมุนไพร การนวด spa ชาเขียว อาหารเสริมต่างๆ การตรวจสุขภาพต่างๆ ทั้งที่อาจจะไม่มีรายงานว่าได้ผลจริงทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและเสียงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน

ในความหมายของคนทั่วไปการตรวจสุขภาพคือไปพบแพทย์และตรวจตามโปรแกรมตามที่แพทย์หรือโรงพยาบาลเสนอ ในความเป็นจริงการตรวจสุขภาพตนเองควรจะเริ่มต้นโดยตัวเองสำรวจสุขภาพตนเอง

การตรวจสุขภาพ
การพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ
แม้ว่าคุณจะดูแลสุขภาพของคุณอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม ยังมีความจำเป็นสำหรับคนบางประเภทที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง สมควรที่จะได้พบกับแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและเจาะเลือด สภานพยาบาลหลายแห่งจึงจัดรายการตรวจสุขภาพ ทั้งการตรวจหาโรคหัวใจ การตรวจหาโรคมะเร็งซึ่งการตรวจบางอย่างเกินความจำเป็น

ควรจะตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุเท่าใด
ในความเป็นจริงเราเริ่มต้นตรวจสุขภาพตั้งแต่แรกเกิดเลย จะเห็นได้ว่าหลังจากคลอดคุณหมอจะนัดพาเด็กไปตรวจสุขภาพชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะและฉีดวัคซีนป้องกันโรค แต่สำหรับผู้ใหญ่ที่แข็งแรง ไม่มีโรคทางกรรมพันธุ์ในครอบครัวก็อาจจะจะเริ่มต้นตรวจเมื่ออายุ 35 ปี แต่หากคุณเป็นคนอ้วน มีประวัติเบาหวานในครอบครัว ประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจของญาติสายตรง ไขมันสูงในครอบครัวหรือเจ็บป่วยบ่อยก็อาจจะเริ่มต้นตรวจที่อายุน้อยกว่านี้บางประเทศ เช่นในอเมริกาแนะนำให้ตรวจไขมันในเลือดตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ส่วนเรื่องความถี่ก็ขึ้นกับสิ่งที่ตรวจพบหากพบว่ามีโรคหรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคก็อาจจะต้องตรวจถี่ หากไม่เสี่ยงก็อาจจะตรวจทุก 3-5 ปี

จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
หากต้องการเจาะเลือดควรจะงดอาหารไปอย่างน้อย 8 ชั่วโมงหากต้องการตรวจไขมันในเลือดควรจะงดอาหาร 12 ชั่วโมง หากไม่ได้ตรวจไขมันหรือน้ำตาลก็ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร หลังจากเจาะเลือดก็ไปรับประทานอาหาร สิ่งที่สำคัญคือคุณต้องทำตัวเหมือนปกติก่อนตรวจไม่ควรที่จะควบคุมตัวเองเป็นพิเศษเพื่อที่จะให้ผลตรวจออกมาดี ไม่ควรกังวลหรือดื่มสุรก่อนการตรวจ การอดอาหารหมายถึงอาหารทุกอย่างทั้งน้ำชา กาแฟ นมดื่มได้เฉพาะน้ำเท่านั้น ไม่ควรจะออกกำลังกายก่อนการเจาะเลือดเพราะมีผลต่อการตรวจเลือด

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

การควบคุมน้ำหนัก

การรักษาน้ำหนัก
อาหารที่เรารับประทานเข้าไปจะใช้เป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต เช่นใช้หล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ใช้ในการเดิน การหายใจ การทำงาน แต่ถ้าหากเรารับประทานอาหารที่มีพลังงานมากกว่าที่เราใช้ส่วนเกินของพลังงาน จะสะสมในรูปไขมันผลทำให้น้ำหนักท่านเพิ่ม

ท่านผู้อ่านควรที่จะรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติคือดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 20-20 กก./ตารางเมตร หากต่ำกว่านี้ร่างกายอาจจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หากมากกว่านี้อาจจะทำให้เกิดโรคต่างๆเช่น โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง

การควบคุมน้ำหนัก
โรคอ้วนทำให้เกิดโรคต่างๆได้
คนอ้วนมักจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรค ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้นโรคอ้วนยังเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้หลายชนิด

การลดน้ำหนัก
วิธีลดน้ำหนักที่ดีที่สุดคือการลดพลังงานจากอาหาร และการออกกำลังกายหรืออาจจะทำทั้งสองอย่างพร้อมกัน

1.ลดพลังงานจากอาหาร
- รับประทานอาหารพวกผักผลไม้ให้มาก ไม่ปรุงอาหารด้วยไขมัน
- ลดอาหารไขมัน เช่นอาหารทอด ผัด เช่นปาท่องโก๋ กล้วยทอด ไก่ทอด กะทิ
- ดื่มนมพร่องมันเนย งดเนย
- ลดการบริโภคน้ำตาลและของหวาน
- งดการดื่มสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

2.การออกกำลังกาย
- ใช้การเดินแทนการนั่งรถ
- ใช้บันไดแทนการขึ้นลิฟต์
- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละประมาณ 30 นาที

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

10 วิธีการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

ร่างกายเราต้องการสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารต่างๆ เพื่อให้มีสุขภาพดี แต่เราจะต้องรู้ว่าจะกินอย่างไร กินอาหารอะไรบ้าง มากน้อยเพียงใด
จึงจะได้สารอาหารครบและเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากร่างกายเราต้องการสารอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหาร ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน น้ำ และใยอาหาร แต่ไม่มีอาหารชนิดใด ชนิดเดียวที่ให้สารอาหารต่างๆครบ ในปริมาณที่ร่างกายต้องการ จึงจำเป็น ต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และกินแต่ละหมู่ให้หลากหลาย จึงจะได้สารอาหารต่างๆครบถ้วน และเพียงพอ

เคล็ดลับง่ายๆ ของการกินให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ

การกินอาหารเพื่อสุขภาพ
1. กินอาหารเช้า เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อจิตใจ และพลังชีวิตของคุณไปตลอดทั้งวัน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ช่วยเผาผลาญพลังงานให้ดีขึ้น ทำให้คุณกินอาหารในมื้ออื่นๆ น้อยลง

2. เปลี่ยนน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร ยอมจ่ายแพงสักนิดใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันดอกทานตะวัน ปรุงอาหารแทนน้ำมันแบบเดิมที่เคยใช้ เพราะเป็นไขมันที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย และมีกรดไขมันอิ่มตัวที่เป็นประโยชน์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี

3. ดื่มน้ำให้มากขึ้น คนเราควรดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรเป็นอย่างน้อย (ยกเว้นในรายที่ไตทำงานผิดปกติ) เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย ฟื้นฟูระบบขับถ่าย รักษาระดับความเข้มข้นของเลือด จะทำให้สดชื่นตลอดวันเลยทีเดียว

4. เสริมสร้างแคลเซียมให้กับกระดูก ด้วยการดื่มนม กินปลาตัวเล็กทั้งตัวทั้งก้าง เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ผักใบเขียว เพราะแคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและกระดูก ทำให้ระบบประสาททำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

5. บอกลาขนมและของกินจุบจิบ ตัดของโปรดประเภทโดนัท คุกกี้ เค้กหน้าครีมหนานุ่ม ออกจากชีวิตบ้าง แล้วหันมากินผลไม้เป็นของว่างแทน วิตามิน และกากใยในผลไม้ มีประโยชน์กว่าไขมัน และน้ำตาลจากขนมหวานเป็นไหนๆ

6. สร้างความคุ้นเคยกับการกินธัญพืชและข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน ข้าวฟ่างและลูกเดือย รวมทั้งข้าวกล้องที่เคยคิดว่าเป็นอาหารนก ได้มีการศึกษาและค้นคว้าแล้ว พบว่า ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว เพราะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุมน้ำตาลในเลือดให้สมดุล

7. จัดน้ำชาให้ตัวเอง ทั้งชาดำ ชาเขียว ชาอู่ล่ง หรือเอิร์ลเกรย์ ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ การดื่มชาวันละ 1 ถึง 3 แก้ว ช่วยลดอัตราเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 30%

8. กินให้ครบทุกสิ่งที่ธรรมชาติมี คุณต้องพยายามรับประทานผักผลไม้ต่างๆ ให้หลากสี เป็นต้นว่า สีแดงมะเขือเทศ สีม่วงองุ่น สีเขียวบล็อกเคอรี สีส้มแครอท อย่ายึดติดอยู่กับการกินอะไรเพียงอย่างเดียว เพราะพืชต่างสีกัน มีสารอาหารต่างชนิดกัน แถมยังเป็นการเพิ่มสีสันการกินให้กับคุณด้วย

9. เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนรักปลา การกินปลาอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ได้ทั้งความฉลาดและแข็งแรง เพราะปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 และโปรตีน ที่ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ และบำรุงเซลล์สมอง ทั้งยังมีไขมันน้อย อร่อย ย่อยง่าย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการหุ่นเพรียวลมเป็นที่สุด

10. กินถั่วให้เป็นนิสัย ทำให้ถั่วเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่คุณต้องกินทุกวัน วันละสัก 2 ช้อน ไม่ว่าจะเป็นของหวานของคาว หรือว่าของว่างก็ทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสำคัญๆ หลายชนิด ต่างพากันไปชุมนุมอยู่ในถั่วเหล่านี้ ควรกินถั่วอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรกินครั้งละมากๆ เพราะมีแคลอรี่สูง อาจทำให้อ้วนได้

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

การดุแลรักษาสุขภาพ

สุขภาพดีคือสิ่งที่ทุกคนปรารถนา สุขภาพดีเป็นสิ่งพรหมลิขิตให้แต่ไม่ทั้งหมด หลายคนไขว่ขว้าหาสุขภาพดี ใช้เงินใช้ทองซื้อทำสปา เข้าโปรแกรมลดน้ำหนัก ซื้ออาหารลดน้ำหนักมารับประทาน การมีสุขภาพที่ดีต้องอาศัยตัวเองดูแลสุขภาพ ให้เวลากับตัวเองเพียงวันละ 1 ชั่วโมงในการออกกำลังกาย อีก 7 ชั่วโมงในการนอนหลับ และรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ

ธรรมชาติคงไม่ให้สุขภาพที่ดีแด่คนที่ชอบทำร้ายตัวเองอยู่เรื่อย แม้ว่าจะทราบแล้วว่าสิ่งนั้นไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ สุขภาพไม่สามารถซื้อด้วยเงินถึงแม้คุณจะรวยเป็นมหาเศรษฐีหากคุณไม่ดูแลตัวเองให้ดี เงินที่มีอยู่เพียงบรรเทาอาการเท่านั้น

สุขภาพกาย
หลายท่านคิดว่าการออกกำลังกายเสียเวลา ท่านลองจิตนาการถึงภาระงานที่ท่านรับผิดชอบในแต่ละวันว่ามีมากน้อยเพียงใด หากท่านไม่ดูแลตัวเองและเกิดโชคร้ายท่านเป็นโรคอัมพาตหรือโรคหัวใจ ภาระที่ท่านว่ามากมายจนไม่มีเวลาออกกำลังกาย ภาระเหล่านั้นใครจะเป็นคนดูแล และหากโชคร้ายถึงขั้นช่วยตัวเองไม่ได้ ใครจะมาเป็นคนดูแลท่าน ท่านเพียงเสียเวลาวันละประมาณ 1 ชั่วโมง หรือท่านอาจจะใช้เวลาในการดูทีวีและออกกำลังกายไปด้วยกันซึ่งก็จะทำให้ท่านมีสุขภาพที่ดีขึ้น

หลายท่านเชื่อว่า คนผอมเท่านั้นที่มีสุขภาพดี จึงทำการลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารเป็นการใหญ่เพื่อให้น้ำหนักได้มาตรฐาน แต่การลดน้ำหนักอาจจะเป็นเรื่องลำบาก และการอดอาหารเป็นเวลานานๆอาจจะมีอันตรายต่อสุขภาพ จึงอยากให้ท่านผู้อ่านได้เปลี่ยนมุมมองใหม่

การมีสุขภาพที่ดีไม่ได้หมายถึงน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแต่หมายถึงการที่เราดูแลตัวเองอย่าถูกต้องตั้งแต่เรื่อง การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การพักผ่อน การป้องกันโรค การลดหรือเลิกสิ่งที่บั่นทอนสุขภาพ ร่างกายเรากระปี้กระเปร่าพร้อมที่จะดำเนินชีวิตประจำวัน เนื้อหาที่จะกล่าวจะเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพของท่าน

การปฏิบัติตามแนวทางไม่ได้ต้องการให้ท่านมีอายุยาวหมื่นๆปีแต่ต้องการให้ท่านมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่ป่วยบ่อย สามารถหลีกเลี่ยงโรคที่ป้องกันได้ อายุยืนยาวขึ้น

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

เคล็ดลับการดูแลรักษาสุขภาพ

ความลับของการมีสุขภาพดีและยืนยาวได้ ไม่ได้อยู่ที่การได้กินยาอายุวัฒนะจากท้องทะเลลึก หรือการใช้สารสกัดจากดอกไม้ล้านปีแห่งยอดเขาหิมาลัย หรือการดื่มโสมพันปีจากเทือกเขาลี้ลับ แต่ได้จากการดำรงชีวิตและการกินอยู่อย่างง่าย ๆ เพียงไม่กี่อย่างในชีวิตประจำวันเท่านั้นก็สามารถที่จะทำให้ความสุขอยู่กับสุขภาพดี มีพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย หรือเป็นโรคฮิตที่นำความพิการและความจำกัดมาสู่ชีวิต

เป็นเรื่องน่าสนใจที่การศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพดีจำนวนมากมักจะแสดงผลที่บ่งชี้ ให้เห็นถึงการปฏิบัติง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างหนึ่งของการศึกษาที่โด่งดังมีผลการศึกษาเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในกลุ่มนักวิชาการสาธารณสุข คือ การศึกษาของ น.พ.เบลล็อค และ เบรสโล จากแคลิฟอร์เนีย ได้ศึกษาถึงปัจจัยที่ทำนายความยืนยาวของอายุและปัจจัยส่งเสริมให้มีสุขภาพดี 7 ประการ โดยพบว่า หากเราได้ปฏิบัติสิ่งเหล่านี้จริงจัง จะส่งผลดีต่อสุขภาพและมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น

การดูแลรักษาสุขภาพ
เคล็ดลับการดูแลรักษาสุขภาพ
1. รับประทานอาหาร อย่างถูกต้องเหมาะสม
- อาหารเช้า สำคัญมากเพราะช่วงเช้าร่างกายขาดน้ำตาล ถ้าไม่รับประทานอาหารเช้าจะเกิดภาวะขาดน้ำตาลซึ่งจะมี ผลทำให้ความคิดตื้อตันไม่ปลอดโปร่ง วิตกกังวล ใจสั่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด โมโหง่าย มื้อเช้ารับประทานได้เช้า ที่สุดยิ่งดี (ระหว่างเวลา 6.00-7.00 น.) เพราะท้องว่างมานาน หากยังไม่มีอาหารให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำข้าวอุ่น ๆ ก่อน ควรทานข้าวต้มร้อน ๆ จะช่วยให้ง่ายต่อการขับถ่ายอุจจาระ

- ถ้าจำเป็นต้องรับประทาน(สาย) ใกล้อาหารมื้อ กลางวัน อย่ารับประทานมากควรเป็นอาหารหนัก เช่น ข้าวสวย พร้อมกับข้าวครบ 5 หมู่ เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมาก และควร รับประทานให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย

2. นอนหลับและพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง (ไม่ควรนอนดึกเกิน 22.00น. ติดต่อกันหลายวัน)

3. รักษาอารมณ์ให้ปลอดโปร่ง แจ่มใสตลอดทั้งวัน และอย่าลืมนั่งสมาธิทุกวัน

4. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง)

6. ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม กับฤดูกาล เช่น หน้าหนาวก็ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ สวมหมวก ถุงมือ ถุงเท้า ขณะนอนตอนกลางคืนควรห่มผ้าปิดถึงอก

7. ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์

8. ไม่สูบบุหรี่

จะเห็นว่าพฤติกรรมสุขภาพเหล่านี้ ทุกคนสามารถทำได้ตลอดเวลาทุกสถานที่และทุกฐานะ สิ่งที่คุกคามสุขภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนเรา ปัจจุบันนี้จึงไม่ได้อยู่ที่การขาดวิตามิน หรือ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ แต่เกิดจากการประเมินค่าความสำคัญของการปฏิบัติที่สุขภาพดีต่ำเกินไป จึงมีคนนำข้อควรปฏิบัติไปใช้ในชีวิตประจำวันน้อยจนถึงไม่สนใจเลย ในบางตัวอย่างหรือปัจจัยที่ได้จากการศึกษาที่กล่าวถึงประการหนึ่งในชีวิตประจำวัน หากเราสามารถทำได้จนเป็นนิสัยแล้ว จะก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ

แค่นี้คุณก็มีสุขภาพดีได้ตั้งแต่ตอนเช้า ลองหันมาปฏิบัติอย่างจริงจังทุกวัน แล้วเพิ่มข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่กล่าวไว้ติดตามมาก็จะทำให้คุณมีสุขภาพดี อายุยืนยาว ไม่ต้องหันไปพึงยาหรือสารสกัดใดให้เสียเงินโดยไม่จำเป็น

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

วิธีการดูแลรักษาสุขภาพ

การมีสุขภาพดีคือสิ่งที่ทุกคนปรารถนา สุขภาพดีเป็นสิ่งที่พรหมลิขิตให้แต่ไม่ได้ทั้งหมด หลายคนไขว่ขว้าหาสุขภาพดี เช่น ใช้เงินในการทำสปา เข้าโปรแกรมลดน้ำหนัก อบซาวน่า ซื้ออาหารและยาลดน้ำหนักมารับประทาน การจะมีสุขภาพที่ดีต้องอาศัยตัวเองในการดูแลสุขภาพ ให้เวลากับตัวเองเพียงวันละ 1 ชั่วโมงในการออกกำลังกาย และอีก 7 ชั่วโมงในการนอนหลับพักผ่อน และรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ

โดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ในชีวิต ก็จะพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเองเป็นอันดับแรก เมื่อรู้ว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้เอง ก็จะแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่น ในเรื่องความเจ็บป่วยหรือปัญหาสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ดังนั้นกล่าวได้ว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกิจกรรมที่บุคคลแต่ละคนปฏิบัติและยึดเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เพื่อให้มีสุขภาพดี" อาจแบ่งขอบเขตการดูแลสุขภาพตนเอง เป็น 2 ลักษณะคือ

การดูแลรักษาสุขภาพ
1. การดูแลสุขภาพตนเองในสภาวะปกติ
เป็นการดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ให้มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ได้แก่

การดูแลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่น การออกกำลังกาย การสร้างสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

การป้องกันโรค เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยเป็นโรค เช่น การไปรับภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพ การป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรค

2. การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วย
ได้แก่ การขอคำแนะนำแสวงหาวามรู้จากผู้รู้ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขต่างๆ ในชุมชน บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติ หรือการรักษาเบื้องต้นให้หายจากความเจ็บป่วย ประเมินตนเองได้ว่าเมื่อไรควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยและมีสุขภาพดีดังเดิม

การที่ประชาชนทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพตั้งแต่ยังไม่เจ็บป่วย เพื่อบำรุรักษาตนเองให้สมบูรณ์แข็งแรง รู้จักที่จะป้องกันตัวเองมิให้เกิดโรค และเมื่อเจ็บป่วยก็รู้วิธีที่จะรักษาตัวเอง เบื้องต้นจนหายเป็นปกติหรือรู้ว่าเมื่อไรต้องไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข